โรคความดันโลหิตสูง หรือความดันสูงถือว่าเป็นปัญหาสุขภาพที่พบเจอมากที่สุด และยังมีแนวโน้มสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ โรคความดันสูงมาจากความดันเลือดภายในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติตลอดเวลา หากละเลยการรักษาก็จะส่งผลเสียต่อสุขภาพถึงขั้นเสียชีวิตได้
สัญญาณที่บ่งบอกว่าเป็นโรคความดันสูง
ผู้ที่เป็นโรคนี้ส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยแสดงอาการให้เห็น นอกจากเป็นผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงก็จะมีอาการ เลือดกำเดาไหล ปวดหัวรุนแรง หายใจสั้น แต่ก็ไม่สามารถตัดสินได้ชัดเจนว่าเป็นโรคความดันสูง นอกเสียจากจะมีการตรวจวัดความดัน หรือบางคนอาจจะมีอาการแทรกซ้อนแล้วไปตรวจถึงจะรู้ตัวว่าเป็นโรคนี้อยู่ โรคนี้จึงถูกยกให้เป็นฆาตกรเงียบที่อาจจะทำให้เสียชีวิตแบบไม่รู้ตัว โดยผู้ที่ถือว่าเป็นความดันสูงก็คือ ความดันโลหิตระหว่าง 120/80 – 129/80 มม. ขึ้นไปจนถึง 140/90 ที่ถือว่าเป็นความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรง
สาเหตุของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง
เกิดจากปัญหาด้านสุขภาพ – เช่นเป็นโรคเกี่ยวกับไต เนื้องอกที่ต่อมมวกไต,เบาหวาน, โรคอ้วน, การหยุดหายใจขณะหลับ, มี, หลอดเลือดผิดปกติตั้งแต่เกิด, ปัญหาต่อมไทรอยด์, ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์
การใช้ยาบางประเภทเช่น – ยาแก้ปวด, ยาคุมกำเนิด, ยาลดความอ้วน และการใช้สารเสพติด เป็นต้น
เชื้อชาติ และพันธุกรรม – มีการสำรวจพบว่าคนที่มีเชื้อชาติ ชาวแอฟริกัน – อเมริกัน มีโอกาสเป็นโรคความดันสูงมากกว่าคนผิวขาว รวมไปถึงหากคนในครอบครัวมีประวัติเกี่ยวกับโรคความดันก็อาจจะส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นได้
พฤติกรรมการกิน และใช้ชีวิตประจำวัน – การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, การสูบบุหรี่, อาหารรสเค็ม หรือมีโซเดียมสูง, ความเครียด, นอนหลับพักผ่อนน้อย การละเลยการออกกำลังกายอย่างเป็นประจำสม่ำเสมอ
อาการแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูง
หากเป็นโรคความดันสูงแล้วปล่อยปละละเลยไม่รักษาอย่างถูกวิธีโรคแทรกซ้อนที่อาจจะตามมาก็คือ โรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด, โรคเกี่ยวกับสายตา, โรคไตเรื้อรัง, มีปัญหาทางด้านสมอง และความจำ โรคหัวใจวายเฉียบพลัน
การรักษา
ส่วนใหญ่หากเข้ารับการรักษา แพทย์จะจัดยาให้ทานเป็นประจำเพื่อช่วยปรับค่าความดันโลหิตให้ลดลงอยู่ในระดับปกติ และนัดตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ รวมไปถึงแนะนำการเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ ควบคู่กับการออกกำลังกาย
วิธีป้องกันโรคความดันโลหิตสูง
ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคความกันสูง ไม่ว่าจะเป็นการนอน การดื่ม การสูบ การเลือกทานอาหาร การคุมน้ำหนักไม่ให้เกินค่ามาตรฐาน และหมั่นตรวจดูว่าความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติเป็นประจำ