สายพันธุ์แมวไทยแท้ ๆ แบบโบราณ ที่ปัจจุบันยังนิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายเพราะนอกจากมีความน่ารักแล้ว ยังมีความเชื่อมาอย่างยาวนานว่ามีความเป็นมงคลโดยอ้างอิงจากการบันทึกไว้ในสมุดข่อยโบราณ ที่ค้นพบโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ พุทธสรมหาเถระ ซึ่งทั้งหมดมี 5 สายพันธุ์
1. แมววิเชียรมาศ หรือ แมวแก้ว
ในสมัยโบราณ มักจะถูกเลี้ยงไว้ในพระราชสำนักตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยเชื่อว่าเป็นแมวนำโชคลาภ ชาวบ้านทั่วไปยากที่จะได้เลี้ยงเพราะมีราคาสูง ลักษณะเด่นก็คือมีตาสีฟ้าสดใส ขนสั้นแต่แน่นออกสีขาวผสมนำตาลอ่อนนิด ๆ แต้มด้วยสีเข้ม บริเวณหู หน้า ขา หาง และอวัยวะเพศ มีหางที่ใหญ่ ยาวเรียวขึ้นไปจนปลายแหลมตรง ขาเรียวยาว สมส่วนนกับลำตัว
2. แมวสีสวาด
เป็นสายพันธุ์แมวต้นกำเนิดจาก จ.นครราชสีมา มีความเชื่อว่าหากแมวสีสวาดมีหางหงิกงอมากเท่าใดจะให้โชคลาภมากเท่านั้น จุดเด่นก็คือสีขนเหมือนสีเมล็ดสวาด หัวดูจากข้างหน้าเหมือนรูปหัวใจ(ตัวผู้ หน้าผากมีรอยหยัก ทำให้ดูเป็นรูปหัวใจชัดกว่า) หน้าผากกว้าง และแบน หูตั้ง ปลายหูมน โคนหูใหญ่ ผิวที่จมูกและริมฝีปาก มักจะเป็นสีเงิน หรือออกสีม่วงอ่อน ดวงตาออกสีเหลืองอมเขียวเหมือนกล้าข้าว
3. แมวศุภลักษณ์
“ศุภลักษณ์” มีความหมายว่าลักษณะที่ดี ก็เป็นความหมายที่ตรงตัวที่สุด เพราะสายพันธุ์แมวประเภทนี้ มีความสวยงาม ขนมีสีน้ำตาลเข้ม ดูแล้วคล้ายสีทองแดงทั้งตัวสะดุดตาอย่างมาก แต่ที่บริเวณหน้า หู ปลายขา และ หาง จะมีสีเข้มกว่าลำตัว ตาสีเหลืองเป็นประกาย บางตัวก็ตาเป็นสีเหลืองอำพัน
4. แมวโกนจา
โบราณเชื่อว่า แมวโกนจามีความเป็นมงคลกับผู้เลี้ยง จะทำให้มีสมบัติมากมาย จึงมีอีกชื่อหนึ่งคือ “ดำมงคล”จุดเด่นคือเป็นแมวที่มีขนสั้นเส้นเล็กละเอียดนุ่มและเรียบตรง สีดำสนิดทั้งตัว ไม่มีสีอื่นปะปน หัวกลมไม่โต หูตั้ง ปากเรียวแหลม ตามีสีเหลืองอมเขียว บางตัวก็มีตาเป็นสีทอง หางยาวปลายแหลม อุ้งเท้าทอดคล้ายเท้าสิงห์ มีสง่าความสะโอดสะองเวลาเคลื่อนไหว
5. แมวขาวมณี
สายพันธุ์แมวขาวมณีไม่ได้มีบันทึกไว้ในสมุดข่อยโบราณ แต่มีความเชื่อว่าจะคอยค้ำจุน ให้ผู้เลี้ยงมีโชคลาภ จุดเด่นของแมวขาวมณีคือมีคนสีขาวสี่สั้น แต่อ่อนนุ่ม บริเวณหัวเหมือนรูปหัวใจ หน้าผากกว้างแบน ดวงตาส่วนใหญ่พบเห็นเห็นจะมี ตาสีฟ้าสองข้าง, ตาสีเหลืองสองข้าง หรือข้างหนึ่งสีฟ้าอีกข้างหนึ่งสีเหลือง