โซดาไฟ สารเคมีประจำบ้านใช้ได้แต่ต้องระวัง

0
4

การนำสารเคมีมาใช้ในชีวิตประจำวันนั้นถือว่าเป็นเรื่องปกติมากในยุคสมัยนี้ “โซดาไฟ” เป็นหนึ่งสารเคมีที่แม่บ้านนิยมใช้นำมาทำความสะอาดท่อระบายน้ำที่อุดตันมาก แต่ต้องใช้อย่างถูกวิธี และต้องรู้จักวิธีดูแลตัวเองถ้าสัมผัสถูกสารเคมี วันนี้เราจะมีการใช้โซดาไฟที่ถูกต้องและวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นมาฝาก

รู้จักโซดาไฟ 

โซดาไฟหรือโซเดียมไฮดรอกไซด์ (Sodium Hydroxide – NaOH) เป็นสารเคมีที่มีคุณสมบัติเป็นเบสแก่ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว อาจมีรูปลักษณ์เป็นเกล็ด เม็ด หรือแผ่นก็ได้ โซดาไฟไม่มีกลิ่นแต่มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง นอกจากนี้ยังเป็นสารที่สามารถดูดความชื้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้เกิดความร้อนเมื่อถูกละลายด้วยน้ำ ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ ทั้งในการผลิตสบู่ ผลิตภัณฑ์ขจัดคราบ อุตสาหกรรมกระดาษ กระดาษแก้ว เส้นใย อลูมิเนียม ปิโตรเลียม อาหาร เป็นต้น 

ข้อควรระวังเมื่อต้องใช้โซดาไฟ 

แม้จะมีประโยชน์มากมายทั้งในการใช้ชีวิตประจำวัน แต่ก็ยังมีข้อควรระวังในการใช้งานโซดาไฟอยู่บ้าง เพราะการรับสารโซดาไฟเข้าสู่ร่างกายอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ดังนี้ 

1.ห้ามใสูดไอหรือฝุ่นโซดาไฟเข้าไป ทำให้เกิดการอักเสบที่เยื่อบุระบบทางเดินหายใจ ปอดอักเสบ 

2.ห้ามโซดาไฟสัมผัสผิวหนัง จะทำให้เกิดแผลพุพอง อาจทำให้ผิวหนังแห้ง แตกสะเก็ดเป็นแผล  

3.ห้ามสัมผัสตาจะเกิดการระคายเคือง ทำลายเนื้อเยื่อ เป็นต้อหินหรือต้อกระจก และอาจตาบอดได้ 

3.ถ้าเข้ากิน จะไปการกัดกร่อนอย่างรุนแรงต่อเนื้อเยื่อทางเดินอาหาร ลำคอไหม้ ปวดท้อง ท้องเสีย อาเจียน วิงเวียน อาจถึงตายได้  

4.ควรแต่งกายให้รัดกุมทั้งผ้าปิดจมูก สวมถุงเท้า ถุงมือ แว่นตากันสารเคมี 

5.การเทโซดาไฟลงในภาชนะที่เป็นสังกะสี ดีบุก หรืออลูมิเนียม เพราะจะทำให้เกิดไฮโดรเจนซึ่งมีความไวไฟจนอาจทำให้เกิดประกายไฟและเกิดอุบัติเหตุเพลิงไหม้ตามมาได้ 

6.ควรทิ้งโซดาไฟในถังขยะสำหรับทิ้งสารเคมีเท่านั้น โดยใส่ถุงพลาสติดที่ปิดมิดชิด ใช้เทปพันถุงให้เรียบร้อยพร้อมติดป้ายขยะสารเคมีปนเปื้อน 

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น 

1.หากกินโซดาไฟเข้าไป ห้ามอาเจียนแต่ให้ดื่มน้ำตามทันทีและต้องไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด แต่หากผู้ป่วยเกิดอาการแพ้หรือชัก ห้ามดื่มน้ำตามแต่ต้องไปพบแพทย์ทันที 

2.หากสัมผัสโดนผิวหรือดวงตาต้องรีบเปลี่ยนเสื้อผ้าหรือขจัดสารเคมีออกจากเสื้อผ้า ผม ผิวหนัง โดยเร็วที่สุดด้วยการล้างน้ำสะอาดมาก ๆ 

3.สำหรับผู้ป่วยที่สูดเอาผง ควัน จากโซดาไฟเข้าไป ต้องรีบไปยังที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ทันที 

โซดาไฟมีฤทธิ์เป็นกรดสูง การนำมาใช้ต้องใช้อย่างระมัดระวัง เพื่อป้องกันไม่ให้โซดาไฟสัมผัสร่างกาย รวมถึงการทิ้งก็ควรแยกทิ้งในถังขยะเคมีเท่านั้น คราวนี้ก็เราใช้โซดาไฟได้อย่างปลอดภัย ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม